วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่5

EAED3214      INCLUSIVE EDUCATION EXPERIENCES MANAGEMENT FOR EARLY CHILDHOOD

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่มเรียน102  เวลา08:30-12:20 น.

วันพฤหัสบดีที่12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 


ความรู้ที่ได้รับ 

       วันนี้กิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำคือการวาดมือตัวเองข้างที่ไม่ถนัดโดยการใส่ถุงมือโดยไม่ให้เห็น  มือที่วาดเก็บรายละเอียดให้ได้มากที่สุด





                       
                                 ผลงานของหนู

สิ่งที่ได้จากกิจกรรม
                       "ถ้าเด็กเปรียบเสมือนมือเรา เรายังจำรายละเอียดที่อยู่กับเราได้หมด เด็กก็เหมือนกัน เราต้องจดบันทึกทันทีเพราะถ้าเราไม่บันทึกทันทีรายละเอียดก็จะหายไป "


คนเป็นครูปฐมวัยควรมีสมุดช็อตโน๊ตไว้ เมื่อเห็นปุ๊บบันทึกปุ๊บ (บันทึกตามความจริง อย่าใส่ไข่เยอะ)


การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ

ทักษะของครูและทัศนคติ


การฝึกเพิ่มเติม
  • อบรมระยะสั้น , สัมมนา
  • สื่อต่างๆ

การเข้าใจภาวะปกติ
  • เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
  • ครูต้องเรียนรู้ , มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
  • รู้จักเด็กแต่ละคน
  • มองเด็กให้เป็น “เด็ก

การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
การสอนโดยบังเอิญ
  • ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
  • เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่  ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
  • ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
  • ครูต้องมีความสนใจเด็ก
  • ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
  • ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
  • ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
  • ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
  • ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน

อุปกรณ์
  • มีลักษณะง่ายๆ
  • ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
  • เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
  • เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
  • ของเล่นของเด็กพิเศษนั้นไม่ควรแยกเพศของเด็ก เช่นบล็อก ปั้นแป้งโด

ตารางประจำวัน
  • เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
  • กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
  • เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
  • การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
  • คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา

ทัศนคติของครู


ความยืดหยุ่น
  • การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
  • ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
  • ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน

การใช้สหวิทยาการ
  • ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
  • สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้

/ "เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโปกาศ"
x "เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ"

ขั้นตอนการให้แรงเสริม

"เด็กชอบให้ชม"
  • สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
  • สอนจากง่ายไปยาก


 กิจกรรมหลังเรียนเสร็จวันนี้ดิฉันและเพื่อนๆได้แอบมาเซอร์ไพรส์วันเกิดอาจารย์เบียร์ที่น่ารัก 


                                                    HBD.to Teacher





บรรยากาศในห้องเรียน





การประเมิน

อาจารย์:
          วันนี้อาจารย์ถุงมือมาให้ใส่แล้ววาดภาพมือที่อยู่ในถุงมือเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับการใส่ใจดูแลเด็กในห้องเรียน อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมในการสอนดี น่ารัก มีการยกตัวอย่างอธิบายได้ชัดเจน พร้อมเล่าประสบการณ์ที่ผ่านมาให้นักศึกษาได้เรียนรู้ 
       

ตนเอง: 
      วันนี้ตั้งใจเรียนและรู้สึกตื่นเต้นที่จะต้องเตรียมเซอร์ไพรส์วันเกิดอาจารย์
     
เพื่อน:
        ตั้งใจเรียน เเละสนทนาตอบโต้กับอาจารย์ บรรยากาศภายในห้องเรียนสนุกสนาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น