EAED3214 INCLUSIVE EDUCATION EXPERIENCES MANAGEMENT FOR EARLY CHILDHOOD
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
กลุ่มเรียน102 เวลา08:30-12:20 น.
วันพฤหัสบดีที่5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
วันนี้อาจารย์เข้าห้องเรียนมาอาจารย์ก็เปิดภาพดอกหางนกยูงให้นักศึกษาวาดตาม อาจารย์บอกว่าไม่ต้องวาดสวยแต่ให้วาดเหมือนเเละเก็บรายละเอียดให้มากที่สุดโดยให้เวลาในการวาดภาพ 40 นาที พร้อมระบายสี พร้อมเขียนอธิบายใต้ภาพ
การอธิบายใต้ภาพคือเราได้รู้จักสังเกตุและเก็บรายละเอียดของภาพก็จะเปรียบเสมือนเวลาเราสังเกตเด็กพิเศษที่เข้ามาเรียนรวมในห้องเรียนของเรา สังเกตโดยสภาพจริง ไม่บิดเบือน ไม่เพ้อฟัน
ภาคทฤษฎีวันนี้
อาจารย์มีการบรรยาเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
ครูไม่ควรวินิจฉัย
-การวิจัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
-จากอากาศที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
-เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
-ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
-เด็กกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
-พ่อแม่ของเด็กพิเศษมักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
-พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
-ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
-ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่า เด็กทำอะไรไม่ได้
-ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
ครูทำอะไรบ้าง
-ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
-ให้ข้อแนะนำในการหาบุคคลกรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
-ส้งเกตเด็กอย่างมีระบบ
-จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
สังเกตอย่างมีระบบ
-ทำอย่างสม่ำเสมอ
-ไม่มีคัยใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
-ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ๆช่วงเวลายาวนานกว่า
-ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู้ที่ปัญหา
การตรวจสอบ
-จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
-เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฎิบัติ
-ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
-ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
-พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
การนับอย่างง่ายๆ
-นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
-กี่ครั้งในแต่ละวันกี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
-ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
-.ให้รายละเอียดได้มาก
-เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
-โดยไม่ต้องเข้าใจไปแนะนำช่วยเหลือ
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
-บันทึกลงบัตรเล็กๆ
-เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
-ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง
-พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคนไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
-ครูต้องตันสินใจด้วยความระมัดระวัง
-พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้นไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
"ลำดับการพัฒนาเด็ด
อันไหนควรลงมือแก้ไขให้รีบทำ
อันไหนรอได้
และอันไหนปล่อยได้"
"พฤติกรรมใดก็ตามที่ไม่ขัดการเรียนรู้ของเด็ก อันไหนปล่อยได้ควรปล่อยให้เด็กได้ลงมือทำ" (อาจารย์เบียร์)
หลังจากเรียนเสร็จเเล้วครูได้ให้เนื้อเพลงบำบัดเด็กปฐมวัยมาคนละ1แผ่น พร้อมร้องเพลง
"ฝึกกายบริการ"
"ฝึกกายบริการ"
คำถามท้ายบท
1. ให้นักเรียนบอกบทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัยถึงสิ่งที่ควรปฎิบัติและไม่ควรปฏิบัติต่อเด็กในห้องเรียรวม
ตอบ
สิ่งที่ควรปฏิบัติ
-สังเกตเด็กอย่างเป็นระบบ
- บันทึกพฤติกรรมเด็
สิ่งที่ไม่ควรปฎิบัติ
-ครูไม่ควรวินิจฉัย
- ครูไม่ความตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็กเช่นชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
-ไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
2.บอกลักษณะการสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบว่ามีรูปแบบใดบ้างและแต่ละรูปแบบมีวิธีสังเกตเด็กอย่างไร
ตอบ สังเกตอย่างเป็นระบบและสังเกตอย่างไม่เป็นระบบ
สังเกตอย่างเป็นระบบได้แก่การสังเกตอย่างมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนตามแผนที่วางไว้
และมีการจดบันทึกอย่างต่อเนื่องทำอย่างสม่ำเสมอ
สังเกตอย่างไม่เป็นระบบป็นการสังเกตในขณะที่เด็กทำกิจกรรมประจำวันและเกิดพฤติกรรมที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น
บรรยากาศในชั้นเรียน
การประเมิณ
อาจารย์:
วันนี้อาจารย์มีแนวการสอนที่น่าสนใจยิ่งขึ้นนำศิลปะมาเชื่อมโยงกับการดูเเลเด็กนักเรียนในชั้นเรียน อธิบายได้เข้าใจเรียบง่าย
วันนี้อาจารย์มีแนวการสอนที่น่าสนใจยิ่งขึ้นนำศิลปะมาเชื่อมโยงกับการดูเเลเด็กนักเรียนในชั้นเรียน อธิบายได้เข้าใจเรียบง่าย
ตนเอง:
วันนี้ตั้งใจเรียนและรู้สึกตื่นเต้นที่ได้วาดภาพเพราะเป็นคนที่วาดภาพไม่เก่ง
เพื่อน:
ตั้งใจเรียนตั้งใจวาดรูปชองตัวเองทุกคน มีการตอบโต้สนทนากับครูในบทเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น