วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่6

EAED3214      INCLUSIVE EDUCATION EXPERIENCES MANAGEMENT FOR EARLY CHILDHOOD

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่มเรียน102  เวลา08:30-12:20 น.

วันพฤหัสบดีที่19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 


ความรู้ที่ได้รับ 


ก่อนจะเข้าสู้บทเรียนอาจารย์ได้นำกิจกรรม มาให้นักศึกษาได้เล่น เพื่อควาสนุกสนามก่อนเข้าสู่บทเรียน

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

**ทักษะทางสังคมควรที่จะปรับที่ตัวเด็กให้เขากับสังคมมากกว่าปรับสังคมให้เขากับเด็ก**

ทักษะทางสังคม
  -เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคมไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
  -การอยู้ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
  -การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
  -เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  -ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
  -เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีการเล่น ไม่รู้จะเล่นอย่างไร
  -ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  -จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
  -ครูจดบันทึก
  -ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  -วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
  -คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
  -ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ2-4 คน
  -เด็กปกติทำหน้าที่เหมือนครุ ให้เด็กพิเศษ
ครูปฎิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  -อยู่ใกล้ๆและเฝ้ามองอย่างสนใจ
  -ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
  -ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
  -เอาวัสดุมาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
  -ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  -ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
  -ทำโดย การพูดนำของครู
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
  -ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
  -การให้โอกาส
  -เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
  -ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง


หลังจากที่เรียนเนื้อหาเสร็จแล้วครูให้ร้องเพลงที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิเศษ

บทเพลง
ตัวอย่างเพลง



หลังจากร้องเพลงเสร็จอาจารย์ได้ จัดกิจรรมศิลปะเเละดนตรีบำบัด ชื่อกิจกรรมเส้นเเละจุด

ขั้นตอนการจัดกิจกกรม
ให้เด็กจับคู่กันเลือกสีที่ตนเองชอบคนละ1แท่ง
-เเล้วเลือกว่าใครจะลากเส้นใครจะจุดในวงกลมเส้นที่เพื่อนลาก ไปพร้อมฟังจังหวะเสียงคนตรีที่ครูเปิดให้
-เมื่อเพลงจบให้ดูที่กระดาษผลงานว่าเราทำแล้ว ออกมาคล้ายรูปอะไรแล้วให้ระบายสีออกมาเป็นภาพนั้น แล้วนำเสนอเพื่อนๆในห้อง

ภาพกิจกรรม






บรรยากาศในชั้นเรียน




การนำไปใช้

      ในการเรียนการสอนวันนี้มีทั้งเนื้อหาทางทฤษฎีและการปฎิบัติสามารถนำไปปรับใช้ในกิจกรรมเพื่อส่งเสริมเด็กพิเศษเรียนรวมได้อย่างดี ในอนาคต เเละกิจกกรมที่อาจารย์จัดให้วันนี้ยังสามารถจัดให้เด็กที่ปกติได้เพราะสามารถประยุกต์ใช้ได้ รวทมทั้งเพลงที่มีเนื้อหาเข้าใจง่ายเหมาะกับการท่องจำ

การประเมิน


อาจารย์:
          วันนี้อาจารย์เตรียมการสอนได้อย่างดี บรรยากาศการเรียนสนุกสนานไม่ตึงเครียด ผ่อนคลาย มีการเชื่องโยงกิจกกรรมได้อย่างเข้าใจง่าย
       

ตนเอง: 
      วันนี้ตั้งใจเรียนและสนุกสนาานในการทำกิจกรรมมีการสนทนาโต้ตอบข้อสงสัยกับอาจารย์
     
เพื่อน:
        ตั้งใจเรียน เเละสนทนาตอบโต้กับอาจารย์ บรรยากาศภายในห้องเรียนสนุกสนาน

วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่5

EAED3214      INCLUSIVE EDUCATION EXPERIENCES MANAGEMENT FOR EARLY CHILDHOOD

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่มเรียน102  เวลา08:30-12:20 น.

วันพฤหัสบดีที่12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 


ความรู้ที่ได้รับ 

       วันนี้กิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำคือการวาดมือตัวเองข้างที่ไม่ถนัดโดยการใส่ถุงมือโดยไม่ให้เห็น  มือที่วาดเก็บรายละเอียดให้ได้มากที่สุด





                       
                                 ผลงานของหนู

สิ่งที่ได้จากกิจกรรม
                       "ถ้าเด็กเปรียบเสมือนมือเรา เรายังจำรายละเอียดที่อยู่กับเราได้หมด เด็กก็เหมือนกัน เราต้องจดบันทึกทันทีเพราะถ้าเราไม่บันทึกทันทีรายละเอียดก็จะหายไป "


คนเป็นครูปฐมวัยควรมีสมุดช็อตโน๊ตไว้ เมื่อเห็นปุ๊บบันทึกปุ๊บ (บันทึกตามความจริง อย่าใส่ไข่เยอะ)


การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ

ทักษะของครูและทัศนคติ


การฝึกเพิ่มเติม
  • อบรมระยะสั้น , สัมมนา
  • สื่อต่างๆ

การเข้าใจภาวะปกติ
  • เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
  • ครูต้องเรียนรู้ , มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
  • รู้จักเด็กแต่ละคน
  • มองเด็กให้เป็น “เด็ก

การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
การสอนโดยบังเอิญ
  • ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
  • เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่  ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
  • ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
  • ครูต้องมีความสนใจเด็ก
  • ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
  • ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
  • ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
  • ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
  • ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน

อุปกรณ์
  • มีลักษณะง่ายๆ
  • ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
  • เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
  • เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
  • ของเล่นของเด็กพิเศษนั้นไม่ควรแยกเพศของเด็ก เช่นบล็อก ปั้นแป้งโด

ตารางประจำวัน
  • เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
  • กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
  • เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
  • การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
  • คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา

ทัศนคติของครู


ความยืดหยุ่น
  • การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
  • ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
  • ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน

การใช้สหวิทยาการ
  • ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
  • สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้

/ "เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโปกาศ"
x "เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ"

ขั้นตอนการให้แรงเสริม

"เด็กชอบให้ชม"
  • สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
  • วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
  • สอนจากง่ายไปยาก


 กิจกรรมหลังเรียนเสร็จวันนี้ดิฉันและเพื่อนๆได้แอบมาเซอร์ไพรส์วันเกิดอาจารย์เบียร์ที่น่ารัก 


                                                    HBD.to Teacher





บรรยากาศในห้องเรียน





การประเมิน

อาจารย์:
          วันนี้อาจารย์ถุงมือมาให้ใส่แล้ววาดภาพมือที่อยู่ในถุงมือเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับการใส่ใจดูแลเด็กในห้องเรียน อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมในการสอนดี น่ารัก มีการยกตัวอย่างอธิบายได้ชัดเจน พร้อมเล่าประสบการณ์ที่ผ่านมาให้นักศึกษาได้เรียนรู้ 
       

ตนเอง: 
      วันนี้ตั้งใจเรียนและรู้สึกตื่นเต้นที่จะต้องเตรียมเซอร์ไพรส์วันเกิดอาจารย์
     
เพื่อน:
        ตั้งใจเรียน เเละสนทนาตอบโต้กับอาจารย์ บรรยากาศภายในห้องเรียนสนุกสนาน

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่4



EAED3214      INCLUSIVE EDUCATION EXPERIENCES MANAGEMENT FOR EARLY CHILDHOOD

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่มเรียน102  เวลา08:30-12:20 น.

วันพฤหัสบดีที่5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 



   ความรู้ที่ได้รับ 



        วันนี้อาจารย์เข้าห้องเรียนมาอาจารย์ก็เปิดภาพดอกหางนกยูงให้นักศึกษาวาดตาม อาจารย์บอกว่าไม่ต้องวาดสวยแต่ให้วาดเหมือนเเละเก็บรายละเอียดให้มากที่สุดโดยให้เวลาในการวาดภาพ 40 นาที พร้อมระบายสี พร้อมเขียนอธิบายใต้
ภาพ



       ผลงานของหนู                          ผลงานของหนู



      การอธิบายใต้ภาพคือเราได้รู้จักสังเกตุและเก็บรายละเอียดของภาพก็จะเปรียบเสมือนเวลาเราสังเกตเด็กพิเศษที่เข้ามาเรียนรวมในห้องเรียนของเรา สังเกตโดยสภาพจริง ไม่บิดเบือน ไม่เพ้อฟัน

ภาคทฤษฎีวันนี้  

อาจารย์มีการบรรยาเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิจฉัย
-การวิจัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
-จากอากาศที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
-เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
-ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
-เด็กกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ 
-พ่อแม่ของเด็กพิเศษมักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
-พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
-ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
-ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่า เด็กทำอะไรไม่ได้ 
-ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
ครูทำอะไรบ้าง
-ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
-ให้ข้อแนะนำในการหาบุคคลกรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
-ส้งเกตเด็กอย่างมีระบบ
-จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
สังเกตอย่างมีระบบ
-ทำอย่างสม่ำเสมอ
-ไม่มีคัยใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
-ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ๆช่วงเวลายาวนานกว่า
-ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู้ที่ปัญหา
การตรวจสอบ
-จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
-เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฎิบัติ
-ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
-ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
-พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
การนับอย่างง่ายๆ
-นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
-กี่ครั้งในแต่ละวันกี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
-ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
-.ให้รายละเอียดได้มาก
-เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
-โดยไม่ต้องเข้าใจไปแนะนำช่วยเหลือ
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
-บันทึกลงบัตรเล็กๆ
-เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
-ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง
-พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคนไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
-ครูต้องตันสินใจด้วยความระมัดระวัง
-พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้นไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่


                               "ลำดับการพัฒนาเด็ด
                           อันไหนควรลงมือแก้ไขให้รีบทำ 
                                    อันไหนรอได้
                               และอันไหนปล่อยได้"

      "พฤติกรรมใดก็ตามที่ไม่ขัดการเรียนรู้ของเด็ก อันไหนปล่อยได้ควรปล่อยให้เด็กได้ลงมือทำ"  (อาจารย์เบียร์)

หลังจากเรียนเสร็จเเล้วครูได้ให้เนื้อเพลงบำบัดเด็กปฐมวัยมาคนละ1แผ่น พร้อมร้องเพลง
 "ฝึกกายบริการ"  



เนื้อเพลง




คำถามท้ายบท



1. ให้นักเรียนบอกบทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัยถึงสิ่งที่ควรปฎิบัติและไม่ควรปฏิบัติต่อเด็กในห้องเรียรวม
ตอบ 
        สิ่งที่ควรปฏิบัติ 
        -สังเกตเด็กอย่างเป็นระบบ 
        - บันทึกพฤติกรรมเด็
        สิ่งที่ไม่ควรปฎิบัติ 
        -ครูไม่ควรวินิจฉัย
       - ครูไม่ความตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็กเช่นชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
       -ไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
2.บอกลักษณะการสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบว่ามีรูปแบบใดบ้างและแต่ละรูปแบบมีวิธีสังเกตเด็กอย่างไร
ตอบ  สังเกตอย่างเป็นระบบและสังเกตอย่างไม่เป็นระบบ
สังเกตอย่างเป็นระบบได้แก่การสังเกตอย่างมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนตามแผนที่วางไว้ และมีการจดบันทึกอย่างต่อเนื่องทำอย่างสม่ำเสมอ
สังเกตอย่างไม่เป็นระบบป็นการสังเกตในขณะที่เด็กทำกิจกรรมประจำวันและเกิดพฤติกรรมที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น

บรรยากาศในชั้นเรียน







การประเมิณ

อาจารย์:
          วันนี้อาจารย์มีแนวการสอนที่น่าสนใจยิ่งขึ้นนำศิลปะมาเชื่อมโยงกับการดูเเลเด็กนักเรียนในชั้นเรียน   อธิบายได้เข้าใจเรียบง่าย 
       

ตนเอง: 
      วันนี้ตั้งใจเรียนและรู้สึกตื่นเต้นที่ได้วาดภาพเพราะเป็นคนที่วาดภาพไม่เก่ง
     
เพื่อน:
        ตั้งใจเรียนตั้งใจวาดรูปชองตัวเองทุกคน มีการตอบโต้สนทนากับครูในบทเรียน
     

บันทึกอนุทินครั้งที่3



EAED3214      INCLUSIVE EDUCATION EXPERIENCES MANAGEMENT FOR EARLY CHILDHOOD

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่มเรียน102  เวลา08:30-12:20 น.

วันพฤหัสบดีที่29 มกราคม พ.ศ.2558 



   ความรู้ที่ได้รับ 



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน

หมายเหตุ อาจารย์ไปสัมมนาทางวิชาการผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา "วิกฤติหรือโอกาส...การศึกษาปฐมวัยไทยในเวทีอาเซียน" โรมแรมเซ็นทราศูนย์ราชการ